Part of Speech คือ
ส่วนที่ประกอบออกมาเป็นคำพูด ออกมาเป็นประโยค ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ
เปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่งที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ เช่น รากฐาน ผนัง เพดาน หลังคา
ประตู หรือหน้าต่าง เป็นต้น ซึ่งส่วนประกอบที่ประกอบขึ้นมาเป็นคำพูด
มี 8 ชนิด
1. Noun (คำนาม) คือ คำที่ใช้เรียกแทน คน สัตว์ สิ่งของไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ ห้อง หนังสือ ชื่อคน ชื่อโรงพยาบาล ชื่อภูเขา ล้วนเป็นคำนามทั้งสิ้น
เมื่อมีคำนามแล้วเอาไปทำอะไรได้บ้าง? คำนามทำหน้าที่เป็นประธาน เป็นกรรม และเป็นส่วนเติมเต็มในประโยค เช่น
เมื่อมีคำนามแล้วเอาไปทำอะไรได้บ้าง? คำนามทำหน้าที่เป็นประธาน เป็นกรรม และเป็นส่วนเติมเต็มในประโยค เช่น
The cat is wagging its
tail. แมวกำลังกระดิกหางของมัน
The cat เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค ส่วน tail เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยค
She is the leader of our group.
The leader of our group เป็นกลุ่มคำนามโดยมีนามหลักคือคำว่า
leader ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของประโยค
2. Pronoun (คำสรรพนาม) คือคำที่ใช้แทนคำนาม
เพื่อจะได้ไม่พูดนามนั้นซ้ำ
หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูดหรือสิ่งที่เราไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่าคืออะไร ทำหน้าที่เป็นประธานก็ได้ หรือเป็นกรรมก็ได้ เช่น
The children are in the room. They are
cleaning up the room.
(They แทนคำนาม the children)
(They แทนคำนาม the children)
Nobody comes with me.
(Nobody เป็นประธาน แทนคำนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง)
(Nobody เป็นประธาน แทนคำนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง)
3. Verb (คำกริยา) คำกริยาคือคำที่แสดงกริยาอาการหรือการกระทำในประโยค เช่น
He’s playing football.
(Play แปลว่า เล่น แสดงการกระทำในประโยค ถือเป็นส่วนสำคัญในประโยค ถ้าประโยคขาดกริยาจะถือว่าประโยคนั้นไม่สมบูรณ์)
(Play แปลว่า เล่น แสดงการกระทำในประโยค ถือเป็นส่วนสำคัญในประโยค ถ้าประโยคขาดกริยาจะถือว่าประโยคนั้นไม่สมบูรณ์)
4. Adjective (คำคุณศัพท์) คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม เน้นว่า ขยายนามเท่านั้นไม่ขยายอย่างอื่น เมื่อทำหน้าที่ขยายนาม ตำแหน่งของคำคุณศัพท์ในประโยคจึงต้องอยู่หน้านาม หรือในบางกรณีจะตามหลัง verb to be และ linking
verb เช่น
Susan isn’t a fat woman.
She looks upset.
5. Adverb (คำกริยาวิเศษณ์) คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น
Tony always drives carefully.
(Carefully เป็น adverb ทำหน้าที่ขยายกริยา drive)
(Carefully เป็น adverb ทำหน้าที่ขยายกริยา drive)
นอกจากขยายกริยาแล้ว ยังขยายคำคุณศัพท์หรือขยายกริยาวิเศษณ์ด้วยกันเองได้อีกด้วย
เช่น
It was so hot yesterday.
(So เป็น adverb ขยายคำคุณศัพท์ hot)
(So เป็น adverb ขยายคำคุณศัพท์ hot)
She ran very fast.
(Very เป็น adverb ขยายคำกริยาวิเศษณ์ fast)
(Very เป็น adverb ขยายคำกริยาวิเศษณ์ fast)
6. Preposition (คำบุพบท) คือคำที่ใช้บอกตำแหน่ง บอกสถานที่ บอกทิศทาง แสดงการเคลื่อนไหว หรือบอกความสัมพันธ์ระหว่างคำนามหรือสรรพนามกับคำอื่นๆ
ในประโยค เช่น
The cat is lying
on the floor.
I went to Mary’s wedding party with my
family.
7. Conjunction (คำเชื่อม) คือคำที่ใช้เชื่อมระหว่าง
คำกับคำ กลุ่มคำกับกลุ่มคำ หรือประโยคกับประโยค เช่น
I went to bed
late last night, so I got up late this morning.
I usually have bread and cereal for
breakfast.
8. Interjection (คำอุทาน) คำอุทานคือคำที่ใช้แสดงอารมณ์
ความรู้สึกที่หลากหลาย ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้น มักใช้ในภาษาพูด เช่น
Oh!
Ouch! Eh! Hey! Hello! Oh dear!
Oh dear! Does it hurt?
Part of speech ทั้ง 8 ชนิดนี้ เชื่อว่าหลายคนรู้จักกันอยู่แล้ว เรียนกันมาแล้ว
แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร หรือคำๆนี้เรียกว่าคำอะไร
การที่เรารู้จักชนิดของคำจะทำให้เราไม่วางคำมั่วซั่วสะเปะสะปะในประโยค นึกจะวางตรงไหนก็วาง เพราะแต่ละคำมีหน้าที่ มีตำแหน่งของมันในประโยค ถ้าเราเข้าใจพื้นฐาน ไม่ว่ามันจะแตกแยกย่อยออกไปมากแค่ไหนก็เข้าใจได้ไม่ยากแล้วล่ะค่ะ
^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น